ตะไคร้ มีสรรพคุณทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยเรามาตั้งแต่อดีตแล้ว ทั้งนี้เพราะตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น ไทย , พม่า , ลาว , มาเลเซีย , อินโดนีเซีย , อินเดียว , ศรีลังกา เป็นต้นและยังสามารถพบได้ในประเทศเขตร้อนบางประเทศในแถบอเมริกาใต้ เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าและสามารถแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ 

ตะไคร้ มีสรรพคุณทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

ประโยชน์และสรรพคุณตะไคร้

ช่วยขับลม

ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด

แก้อาการเกร็ง

ช่วยขับเหงื่อ

แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา

แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะเป็นเลือด

แก้เบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหาร

ช่วยย่อยอาหาร

ลดความดันโลหิต

แก้กระษัย

เป็นยารักษาเกลื้อน

แก้ไข้หวัด

ขับประจำเดือน ขับระดูขาว

ใช้ภายนอกทาแก้อาการปวดบวมตามข้อ

ช่วยในการรักษาอหิวาตกโรค         

ใช้ส่วนของเหง้า ลำต้นและใบของตะไคร้ เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด และใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารสำหรับดับกลิ่นคาวเช่นเดียวกับ ขิง ข่า ใบมะกรูด ให้อาหารมีกลิ่นหอม และปรับปรุงรสให้น่ารับประทานมากขึ้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้ 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้รักษาอาการขัดเบา เหง้าและลำต้นสด หรือแห้ง 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 40-60 กรัม แห้ง 20-30 กรัม ทุบต้มกับน้ำพอควร แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75  มิลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือจะหั่นตะไคร้ คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้  5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร ใช้รักษาท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด ใช้เหง้าและลำต้นสด1 กำมือ น้ำหนัก 40-60 กรัม ทุบพอแตก ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ ครั้งละ 1/2 แก้ว วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร     

การใช้ตะไคร้รักษาอาการแน่นจุกเสียด ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

  1.     นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ เติมน้ำต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ติดต่อกัน 3 วัน จะหายปวดท้อง
  2.     นำลำต้นแก่สดๆทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม 

  ใช้รักษาอาการเมาค้าง ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว

 สรรพคุณทางการแพทย์แผนปัจจุบัน 

ที่ได้มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกผลปรากฏว่า น้ำยาบ้วนปากจากตะไคร้สามารถช่วยลดกลิ่นปากที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดลงได้และพบว่ามีความปลอดภัยจากการใช้งานในกลุ่มผู้ถูกทดลอง แม้ยังคงต้องมีการปรับปรุงกลิ่นฉุนและรสชาติจากตะไคร้เพิ่มเติมต่อไป และในน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากตะไคร้มีอัตราการรักษาผู้ป่วยโรคเกลื้อนอยู่ที่ประมาณ 60% ในขณะที่ตัวยาคีโตโคนาโซลมีประสิทธิผลทางการรักษาสูงกว่า คือ อยู่ที่ 80%  และมีการทดลองประสิทธิภาพของตะไคร้ด้วยการทาโลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้ลงบนแขนของผู้อาสาสมัครทดลอง แล้วให้ผู้ทดลองอยู่ในบริเวณที่มีตัวริ้นชนิด Culicoides Pachymerus อยู่อย่างชุกชุม โดยทดลองซ้ำ ๆ 10 ครั้ง เพื่อทดสอบประสิทธิผลทางการป้องกันภายใน 3-6 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า โลชั่นที่มีส่วนผสมของตะไคร้มีประสิทธิผลทางการป้องกันตัวริ้นชนิดนี้ได้สูงสุดถึงประมาณ 5 ชั่วโมง  ส่วนการทดลองถึงประสิทธิภาพของตะไคร้ในการป้องกันยุงก้นปล่องสายพันธุ์ Anopheles Arabiensis ในอาสาสมัครทดลองเพศชาย 3 คน พบว่ายากันยุงที่มีส่วนผสมของตะไคร้มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงได้ยาวนานที่ประมาณ 3 ชั่วโมง  ส่วนในเรื่องการกำจัดรังแคนั้น มีงานทดลองหนึ่งในไทยที่นำเอาน้ำมันสกัดจากตะไคร้มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์น้ำมันบำรุงเส้นผมแต่งกลิ่น 5, 10 และ 15% โดยมีอาสาสมัครทดลองเป็นคนไทยในวัย 20-60 ปี จำนวน 30 คน ผลการทดลองพบว่า ผลิตภัณฑ์น้ำมันบำรุงเส้นผมแต่งกลิ่นตะไคร้มีประสิทธิผลต่อการลดปริมาณรังแคลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของตะไคร้ 10%

ข้อมูลจาก  https://www.disthai.com/16913433/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89

ติดตามอ่านต่อได้ที่  greenmarketseattle.com